วันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการขนส่งผู้โดยสารเพื่อการท่องเที่ยว


ความหมายของการขนส่ง 
 ตามสารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน  พ.ศ. 2525  ได้ให้ความหมายของการขนส่งไว้ว่า “ขน” หมายถึง  การนำเอาของมากๆ จากที่หนึ่งไปไว้ในอีกที่หนึ่ง  ส่วน ส่ง” หมายถึง  การยื่นให้ถึงมือ  พาไปให้ถึงที่  เมื่อรวมเป็นคำว่าขนส่ง” จึงหมายถึง การนำไปและนำมาซึ่งของมากๆ  จากที่หนึ่งไปไว้อีกที่หนึ่ง
 การขนส่ง หมายถึง การจัดให้มีการเคลื่อนย้าย บุคคล สัตว์ หรือสิ่งของ ด้วยอุปกรณ์การขนส่งจากที่หนึ่งตามความประสงค์ของมนุษย์  ถ้าเป็นการขนส่งคนเรียกว่า การขนส่งผู้โดยสาร  แต่ถ้าเป็นการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของก็เรียกว่า การขนส่งสินค้า
ความหมายของการขนส่งผู้โดยสาร 
การขนส่งผู้โดยสาร หมายถึง การจัดให้มีการเคลื่อนย้ายบุคคลด้วยเครื่องมืออุปกรณ์การขนส่งจากที่แห่งหนึ่งตามความประสงค์ของบุคคลนั้นๆ ซึ่งประกอบด้วยลักษณะสำคัญ 2 ประการ คือ
1. เป็นกิจกรรมที่ต้องมีการเคลื่อนย้ายบุคคลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
2.  เป็นการเคลื่อนย้ายที่ต้องเป็นไปตามความประสงค์ของบุคคลผู้ที่ต้องการขนส่ง
 ความสำคัญของการขนส่ง

          ความสำคัญของการขนส่ง สามารถแบ่งออกได้ ดังนี้
          ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ การขนส่งเป็นปัจจัยพื้นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจ
ของประเทศ ดังนี้
          1. การขนส่งช่วยขยายตลาดให้กว้างขึ้น เมื่อธุรกิจทำการผลิตสินค้าได้ การขนส่งจะทำหน้าที่ในการกระจายสินค้าไปสู่ผู้บริโภคทั้งภายในและภายนอกประเทศ ทำให้ตลาดของสินค้าขยายตัวกว้างขึ้น รายได้จากการจำหน่ายสินค้าเพิ่มมากขึ้น ธุรกิจก็จะเป็นธุรกิจที่มีขนาดใหญ่
          2. การขนส่งช่วยลดต้นทุนในการผลิต ในการผลิตธุรกิจจำเป็นต้องมีการขนย้ายวัตถุดิบจากแหล่งวัตถุดิบมายังแหล่งผลิต การขนส่งที่มีประสิทธิภาพจะสามารถทำการขนส่งวัตถุดิบในแต่ละครั้งได้เป้นจำนวนมาก ซึ่งช่วยประหยัดต้นทุนในการผลิตสินค้าได้ และการที่ธุรกิจสามารถขยายตลาดโดยจำหน่ายสินค้าทั้งภายในและภายนอกได้ ทำให้ธุรกิจต้องทำการผลิตสินค้าเป็นจำนวนมาก มีคุณภาพเป็นมาตรฐานเดียวกัน ในการผลิตธุรกิจขนาดใหญ่ จึงใช้เครื่องจักรในการผลิต ก่อให้เกิดการผลิตขนาดใหญ่ และช่วยลดต้นทุนในการผลิตต่อหน่วยได้
          3. การขนส่งช่วยให้เกิดการจ้างแรงงาน การขนส่งก่อให้เกิดการผลิตขนาดใหญ่ทำให้ธุรกิจมีความต้องการแรงงานมากขึ้นและเป็นการนำแรงงานจากที่หนึ่งที่มีแรงงานจำนวนมากไปอีกที่หนึ่งที่มีความต้องการแรงงาน เช่น คนงานจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งมีภูมิประเทศค่อนข้างแห้งแล้ง คนส่วนใหญ่ไม่มีงานทำ การขนส่งทำให้คนงานจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือสามารถมาทำงานในภาคกลางหรือภาคตะวันออกที่มีความต้องการแรงงานได้ หรือคนงานในประเทศไทยเดินทางไปทำงานต่างประเทศ ก็เนื่องจากการขนส่งที่มีประสิทธิภาพนั้นเอง
          4. การขนส่งช่วยให้เกิดดุลยภาพในระดับราคาสินค้า ธุรกิจเมื่อผลิตสินค้าการขนส่งจะทำหน้าที่นำสินค้าจากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภคเช่น จังหวัดจันทบุรี ในฤดูกาลเงาะ จะมีผลผลิตเงาะออกมาสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก การขนส่งที่มีประสิทธิภาพสามารถนำเงาะไปจำหน่ายได้ในทุกจังหวัดทั่วประเทศและราคาของเงาะที่จำหน่ายในแต่ละจังหวัดจะเป็นราคาที่ใกล้เคียงกัน ทำให้เกิดดุลยภาพในระดับราคา ถ้าการขนส่งไม่มีประสิทธิภาพเงาะในจังหวัดจันทบุรีจะมีราคาถูกมาก ส่วนเงาะที่จำหน่ายในจังหวัดอื่นจะมีราคาสูงมาก เป็นต้น
          5. การขนส่งช่วยให้สินค้าถึงผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ การขนส่งที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพในปัจจุบัน ทำให้สินค้าถึงผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ การขนส่งที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพในปัจจุบัน ทำให้สินค้าจากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภคทำได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่น ผู้บริโภคในประเทศคูเวตสั่งซื้อดอกกุหลาบจากจังหวัดเชียงใหม่ การขนส่งที่มี
ประสิทธิภาพจะทำให้ผู้บริโภคได้รับดอกกุหลาบที่มีความสวยและสดเสมือนตัดจากต้นกุหลาบใหม่ ๆ
          ด้านสังคมและวัฒนธรรม
 การขนส่งมีความสำคัญในด้านสังคมและวัฒนธรรม ดังนี้
          1. การขนส่งช่วยให้เกิดการขยายเมือง ปัจจุบันประชาชนไม่จำเป็นต้องแออัดอยู่เฉพาะภายในใจกลางเมืองเท่านั้นเพราะการขนส่งที่สะดวกและรวดเร็วประชาชนสามารถมีที่พักอาศัยกระจายไปในถิ่นต่าง ๆ ได้ เป็นการขยายเมืองให้ใหญ่ขึ้น
          2. การขนส่งทำให้มาตรฐานการศึกษาของประชาชนสูงขึ้น เช่น เดิมสถานศึกษาระดับมหาวิทยาลัยจะมีอยู่เฉพาะในกรุงเทพมหานคร นักศึกษาที่อยู่ต่างจังหวัดจำเป็นต้องย้ายเข้ามาในกรุงเทพมหานคร เพื่อศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยแต่ปัจจุบันการคมนาคมขนส่งที่สะดวกขึ้น สถานศึกษาได้ขยายไปอยู่ตามภาคต่าง ๆนักศึกษาสามารถจะศึกษาได้ในภูมิภาคที่ตนเองอยู่อาศัย โดยไม่จำเป็นต้องย้ายสถานที่อยู่ทำให้มาตรฐานการศึกษาของประชาชนดีขึ้น
          3. การขนส่งทำให้มนุษย์มีการติดต่อสัมพันธ์กันระหว่างสังคมต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ซึ่งกันและกัน โดยการติดต่อค้าขายกันหรือโดยการท่องเที่ยว เป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้เกิดขึ้นระหว่างสังคมมนุษย์
          4. การขนส่งทำให้มนุษย์มีการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการระหว่างกันทำให้ มาตรฐานความเป็นอยู่ของมนุษย์ในแต่ละสังคมดีขึ้นเท่าเทียมกัน เช่น ประชาชนในจังหวัดชลบุรี สามารถจับสัตว์ทะเลได้เป็นจำนวนมาก นำส่งไปขายในจังหวัดอื่น ๆ ทำให้เกิดรายได้ สามารถนำรายได้ที่ได้รับไปจัดหาสิ่งต่าง ๆ เพื่อสนองความต้องการของตนเอง
ทำให้มาตรฐานการดำรงชีวิตดีขึ้น
          ด้านการปกครองและการป้องกันประเทศ

          การขนส่งมีความสำคัญในด้านปกครองและการป้องกันประเทศ ดังนี้
          1. การขนส่งทำให้ประชาชนในประเทศแต่ละจังหวัดสามารถติดต่อกันได้โดยสะดวก ทำให้ประชาชนสามารถได้รับทราบนโยบายของรัฐบาล ทำให้การปกครองของรัฐบาลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และการคมนาคมขนส่งที่สดวกทำให้การปกครองระบอบประชาธิปไตย ซึ่งต้องอาศัยวิธีการเลือกตั้งดำเนินไปได้อย่างดี เพราะไม่ว่าประชาชนจะอยู่อาศัยที่ใดก็สามารถเดินทางไปลงคะแนนเลือกตั้งได้ดดยสะดวก
          2. การขนส่งทำให้รัฐบาลสามารถเคลื่อนย้ายอาวุธยุทโธปกรณ์ และเสบียงอาหารไปให้แก่ทหารในยามเกิดศึกสงครามได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ทำให้การป้องกันประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
          องค์ประกบอของการขนส่ง

          การขนส่งทุกประเภทมีองค์ประกอบสำคัญ ดังนี้
          1. ผู้ประกอบการขนส่ง หมายถึง ผู้ดำเนินกิจการขนส่ง ได้แก่ เจ้าของกิจการขนส่งเจ้าของอุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ในการขนส่งผู้ประกอบการขนส่งอาจจะเป็นเอกชนจัดตั้งในรูปกิจการเจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วน บริษัท หรือเป็นรัฐบาลในรูปหน่วยงานรัฐวิสาหกิจก็ได้
          2. เส้นทางการขนส่ง หมายถึง ทางที่ใช้ในการขนส่ง เช่น การขนส่งทางน้ำ เส้นทางขนส่ง ได้แก่ แม่น้ำ ลำคลอง มหาสมุทร การขนส่งทางบก เส้นทางขนส่งทางบก ได้แก่ ถนนเป็นต้น
          3. เครื่องมืออุปกรณ์ขนส่ง หมายถึง เครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการขนส่ง เช่นการขนส่งทางน้ำ เครื่องมืออุปกรณ์ขนส่งได้แก่ เรือ การขนส่งทางบก เครื่องมืออุปกรณ์ขนส่งได้แก่ รถยนต์ รถไฟ การขนส่งทางอากาศ เครื่องมืออุปกรณืขนส่ง ได้แก่ เครื่องบิน
         4. สถานีรับ-ส่ง หมายถึง สถานที่ที่กำหนดให้เป็นจุดรับ-ส่งคน ส่งมีชีวิต หรือสิ่งของที่จะทำการขนส่ง เช่น ป้ายจอดรถประจำทางท่าอากาศยานดอนเมือง สถานีรถไฟหัวลำโพง สถานีขนส่งสายใต้
          ลักษณะของการขนส่งที่มีประสิทธิภาพ

          การขนส่งเป็นส่งที่มีความจำเป็น และเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการดำเนินชีวิตในโลกยุคปัจจุบันลักษณะของการขนส่งที่มีประสิทธิภาพจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้ คือ
          1. ความปลอดภัย การขนส่งเป็นการเคลื่อนที่ของคน ส่งมีชีวิต สิ่งของจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง ดังนั้นการขนส่งจึงต้องดำเนินการดว้ยความปลอดภัย เพื่อป้องกันการสูญเสียที่จะเกิดขึ้น แก่ชีวิต และทรัพย์สินที่ทำการขนส่ง
          2. ความรวดเร็วตรงต่อเวลา การดำเนินธุรกิจทุกประเภทมีการแข่งขันกันในทุกด้านรวมทั้งด้านเวลาด้วย การขนส่ที่มีประสิทธิภาพจึงต้องมีความรวดเร็วเพื่อให้ทันคู่แข่งขันและสินค้าบางอย่างมีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา เช่น ผลไม้ ดอกไม้ สิ่งมีชีวิต ถ้าขนส่งช้าจะทำให้สินค้าเกิดการเน่าเสียหรือเสียชีวิตได้ ทำให้เกิดความเสียหายแก่ธุรกิจ
          3. ประหยัดค่าใช้จ่าย ในการประกอบธุรกิจสิ่งหนึ่งที่ผู้ประกอบการต้องการคือผลตอบแทนในรูปของผลประโยชน์หรือกำไรซึ่งจะได้จากราคาขายหักด้วยต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายตลาดในปัจจุบันเป็นตลาดของผู้บริโภค เนื่องจากมีผู้ผลิตเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ราคาขายของสินค้าประเภทเดียวกันจะมีราคาขายที่ใกล้เคียงกัน ดังนั้นธุรกิจใดสามารถประหยัดต้นทุน หรือค่าใช้จ่ายได้มากกว่าคู่แข่งขันจะทำให้ได้กำไรมากกว่าคู่แข่งขัน การขนส่งเป็นต้นทุนประเภทหนึ่งของการประกอบธุรกิจ ดังนั้นผู้ประกอบธุรกิจจะต้องเลือกแบบการขนส่งที่เหมาะสมและเสียค่าใช้จ่ายต่ำ
          4. ความสะดวกสบาย การขนส่งมีหลายรูปแบบได้แก่ ทางบก ทางน้ำ ทางอากาศผู้ใช้บริการการขนส่ง นอกจากจะต้องการความปลอดภัย ความรวดเร็ว แล้วยังต้องการความสะดวกสบายอีกด้วย เช่น สมัยโบราณการขนส่งคมนาคมทางบก ใช้เกวียนโดยสัตว์เทียมลากแต่ปัจจุบัน การขนส่งทางบกมีรถยนต์ รถบรรทุก รถไฟ ซึ่งก่อให้เกิดความสะดวกสบายยิ่งขึ้น
          
ประเภทของการขนส่ง

          การขนส่งสามารถจำแนกประเภทได้หลายประเภท ดังนี้
          จำแนกตามลักษณะของกฎหมายไทย ตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. 2522
         1. การขนส่งส่วนบุคคล คือ การขนส่งเพื่อธุรกิจการค้าของตนเองด้วยรถที่มีน้ำหนักเกินกว่า 1,600 กิโลกรัม
          2. การรับจัดการขนส่ง คือ การรับจ้างรวบรวมคน สิ่งมีชีวิต หรือสิ่งของซึ่งเป็นผู้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ทำการขนส่งจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งในความรับผิดชอบของผู้จัดการขนส่ง
          3. การขนส่งประจำทาง คือ การขนส่งเพื่อสินจ้างตามเส้นทางที่คณะกรรมการกำหนด
          4. การขนส่งไม่ประจำทาง คือ การขนส่งเพื่อสินจ้างโดยไม่กำหนดเส้นทาง
          5. การขนส่งระหว่างจังหวัด คือ การขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง การขนส่งส่วนบุคคล ที่ทำการขนส่งระหว่างจังหวัด
          6. การขนส่งระหว่างประเทศ คือ การขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง การขนส่งส่วนบุคคล ที่ทำการขนส่งระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศ
          7. การขนส่โดยรถขนาดเล็ก คือ การขนส่งคน สิ่งที่มีชีวิต สิ่งของ เพื่อสินจ้างตามเส้นทางที่คณะกรรมการกำหนดด้วยรถ โดยน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันไม่เกิน 4,000 กิโลกรัม
          จำแนกตามลักษณะของเส้นทาง แบ่งออกได้ ดังนี้
          1. การขนส่งทางถนน มีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
          1.1 ผู้ประกอบการ ผู้ประกอบการขนส่งทางถนนสามารถจำแนกประเภทได้หลายลักษณะคือ
          1) จำแนกตามลักษณะของผู้ใช้บริการ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
               (1) ผู้ประกอบการขนส่งผู้โดยสาร เช่น รถยนต์นั่งรับจ้าง รถยนต์โดยสารประจำทาง
               (2) ผู้ประกอบการขนส่งสินค้า เช่น องค์การรับสินค้าและพัสดุภัณฑ์ผู้รับขนส่งสินค้าของบริษัทเอกชน
          2) จำแนกตามลักษณะของผู้ลงทุน แบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
               (1) รัฐเป็นผู้ประกอบการขนส่ง คือ การประกอบการขนส่งโดยหน่วยงานของรัฐ เช่น บริษัทขนส่งจำกัด องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
               (2) เอกชนเป็นผู้ประกอบการขนส่ง คือ การประกอบการขนส่งโดยบริษัทของเอกชน
               (3) รัฐและเอกชนร่วมกันเป็นผู้ประกอบการขนส่ง คือ การประกอบการขนส่งร่วม เช่น บริษัทขนส่ง (บขส.) องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (รสพ.)
          1.2 ยานนต์ในการขนส่ง ยานยนต์ที่ใช้ในการขนส่งทางถนน คือ รถยนต์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
          1) รถยนต์บรรทุกผู้โดยสาร แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
               (1) รถยนต์โดยสารสาธารณะ ได้แก่ รถยนต์โดยสารประจำทาง และรถยนต์โดยสารไม่ประจำทาง
               (2) รถยนต์โดยสารบริการ ได้แก่ รถยนต์ที่ให้บริการบรรทุกผู้โดยสารเป็นครั้งคราว เช่น รถยนต์บริการให้เช่า รถยนต์บริการนักทัศนาจร
               (3) รถยนต์โดยสารส่วนบุคคล ได้แก่ รถยนต์โดยสารอื่นที่นอกเหนือจากรถยนต์โดยสารสาธารณะ และรถยนต์โดยสารบริการ เช่น รถยนต์นั่งส่วนบุคคลและรถยนต์โดยสารส่วนบุคคล
          2) รถยนต์บรรทุกสินค้า แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
               (1) รถยนต์บรรทุกสาธารณะ คือ รถยนต์บรรทุกรับขนส่งสินค้าเพื่อสินจ้าง
               (2) รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล คือ รถยนต์บรรทุกสินค้าเพื่อธุรกิจการค้าของตนเอง
          1.3 ถนนหรือทางหลวง คือ เส้นทางรถยนต์ สำหรับการขนส่งทางบก เพื่อให้ประชาชนในทุกจังหวัดได้เดินทางติดต่อค้าขายกันได้ด้วยความสะดวก
          ทางหลวงในประเทศไทย แบ่งออกเป็น
          (1)  ทางหลวงพิเศษ  (Special Highways) คือ ทางหลวงเพื่อให้การจราจรผ่านได้ตลอดรวดเร็วเป็นพิเศษ ได้แก่สายธนบุรี-ปากท่อสายพระประแดง-บางบัวทอง สายพระประแดง-บางปะอิน สายบางกอกน้อย-นครชัยศรี
          (2) ทางหลวงแผ่นดิน (National Highways) คือ ทางหลวงที่เชื่อมต่อภูมิภาคที่ สำคัญทั่วประเทศเป็นถนนที่มีความสำคัญต่อประเทศในด้านเศรษฐกิจ การปกครองและการป้องกันประเทศ ได้แก่
          1. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 คือ ถนนพหลโยธิน เริ่มจากกรุงเทพมหานครสิ้นสุดที่จังหวัดเชียงราย เป็นถนนสายหลักของภาคเหนือ
          2. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 คือ ถนนมิตรภาพโดยแยกจากถนนพหลโยธินที่จังหวัดสระบุรีสิ้นสุดที่จังหวัดหนองคาย เป็นถนนสายหลักของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
          3. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 คือ ถนนสุขุมวิท เริ่มจากกรุงเทพมหานคร สิ้นสุดที่จังหวัดตราด เป็นทางหลวงแผ่นดินที่สั้นที่สุด
          4. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 คือ ถนนเพชรเกษม เริ่มจากกรุงเทพมหานคร สิ้นสุดที่จังหวัดนราธิวาส เป็นถนนสายหลักของภาคใต้
          (3) ทางหลวงจังหวัด (Provinicial Highways) คือ ทางหลวงที่เชื่อมต่อระหว่างศาลากลางจังหวัดไปยังสถานที่สำคัญของจังหวัดนั้น
          (4) ทางหลวงชนบท (Rural Roads) คือ ทางหลวงที่อยู่นอกเขตเทศบาลและ
สุขาภิบาลจังหวัด
          (5) ทางหลวงเทศบาล (Municipal Roads) คือ ทางหลวงที่อยู่ในเขตเทศบาลของจังหวัด
          (6) ทางหลวงสุขาภิบาล (Roads In Small Municipal Area) คือ ทางหลวงที่อยู่ในเขตสุขาภิบาล
          (7) ทางหลวงสัมปทาน (Concession Highways) คือ ทางหลวงที่รัฐบาลให้สัมปทานในการก่อสร้างแก่เอกชนเพื่อใช้เป็นเส้นทางในการคมนาคมและเพื่อการอุตสาหกรรม
          4) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งทางถนน มีดังนี้
               (1) กรมการขนส่งทางบก มีหน้าที่รับผิดชอบด้านทะเบียนและภาษีรถยนต์และล้อเลื่อนตามพระราชบัญญัติรถยนต์ ตั้งแต่ 23 กรกฎาคม 2531 และรับผิดชอบในการจัดระเบียบและควบคุมการขนส่งทางรถยนต์ของประเทศให้มีบริการอย่างเพียงพอและมีความปลอดภัย
               (2) กรมทางหลวง มีหน้าที่รับผิดชอบอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้ทางหลวง และสำรวจออกแบบ ขยาย บูรณะซ่อมแซมทางหลวงพิเศษ ทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงจังหวัด และทางหลวงสัมปทานทั่วราชอาณาจักร
               (3) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจมีหน้าที่ดำเนินการก่อสร้าง ซ่อมบำรุงรักษา และดำเนินการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับทางพิเศษ เพื่อให้การจราจรผ่านได้ตลอดรวดเร็ว
               (4) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ มีหน้าที่ดำเนินการขนส่งผู้โดยสารด้วยรถยนต์ประจำทาง ในเขตกรุงเทพมหานคร และระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดใกล้เคียง เช่น จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุดทรปราการ จังหวัดปทุทธานี
               (5) บริษัทขนส่ง เป็นบริษัทของรัฐที่มีหน้าที่ดำเนินกิจการขนส่งในระหว่างเส้นทางกรุงเทพมหานครกับชานเมือง และในเส้นทางส่วนภูมิภาคทั่วราชอาณาจักร
               (6) องค์การรับสินค้าและพัสดุภัณฑ์ เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจมีหน้าที่รับขนส่งทุกชนิดให้แก่รัฐ และเอกชน ทั้งภายในและภายนอกราชอาณาจักร
การขนส่งผู้โดยสารด้วยรถยนต์
1. การขนส่งผู้โดยสารทางบก (Land Transportation)  
     1.1 การขนส่งผู้โดยสารทางรถยนต์ มีดังนี้   
           รถยนต์ส่วนบุคคล  เป็นการเดินทางท่องเที่ยวที่นิยมใช้กันมาก เพราะการเดินทางแบบนี้ให้เสรีภาพกับนักท่องเที่ยว
สามารถกำหนดเวลาการเดินทางและสถานที่ที่จะเดินทางไปได้ตามความพอใจ  การเดินทางด้วยรถยนต์ทำให้นักท่องเที่ยวเดินทางด้วยความรวดเร็ว สะดวกสบาย


รถยนต์โดยสารบริการ   เป็นรถโดยสารที่ให้เช่าเป็นครั้งคราว โดยมีการตกลงก่อนทำการขนส่ง ได้แก่ รถยนต์เช่า (Car Rent) และรถยนต์บริการทัศนาจรหรือรถโดยสารนำเที่ยว (Coach)  รถยนต์โดยสารประเภทนี้  จะมีบทบาทในการท่องเที่ยวแบบเป็นหมู่คณะ (Group Tour)

รถโค้ช (Coach) มี 2 แบบ คือ รถโค้ชชั้นเดียวและ 2 ชั้น ซึ่งต่างกันที่จำนวนที่นั่งของผู้โดยสารและสิ่งอำนวยความสะดวก  บางรุ่นจัดทำเป็นที่นั่งแบบโซฟาชั้นล่างด้านหลังรถเหมาะกับการเดินทางระยะไกล ที่นั่งสามารถปรับเอนนอนได้ และมีสิ่งอำนวยความสะดวกในรถเช่น มีมินิบาร์ วีดีทัศน์ คาราโอเกะและห้องน้ำ เป็นต้น
รถยนต์โดยสารสาธารณะ
1. รถยนต์โดยสารประจำทาง คือ รถยนต์โดยสารที่ให้บริการประจำทาง ทั้งในเขตตัวเมืองและส่วนภูมิภาค เช่น รถเมล์ธรรมดา รถเมล์ปรับอากาศ รถเมล์ทางด่วน ฯลฯ2. รถยนต์โดยสารไม่ประจำทาง คือ รถยนต์โดยสารที่ให้บริการทั่วไป ไม่ประจำเส้นทางใดเส้นทางหนึ่ง เช่น รถแท็กซี่ รถตู้โดยสาร รถยนต์ทัศนาจร ฯลฯ
 ข้อดีและข้อจำกัดของการขนส่งทางรถยนต์
ข้อดี
 1. สามารถให้บริการได้ถึงที่และถึงจุดหมายได้มากกว่าการขนส่งประเภทอื่น
 2. ใช้ในการเชื่อมโยง หรือประสานกับการขนส่งประเภทอื่นๆ
 3. มีความคล่องตัวสูง สะดวก รวดเร็ว และให้บริการได้ทุกจุดในการเดินทาง
 4. สามารถให้บริการได้ตามความต้องการ
 5. มีผู้ประกอบการมากมาย สามารถเลือกใช้บริการได้
ข้อจำกัด
 1. สามารถขนส่งผู้โดยสารได้ในปริมาณจำกัด
 2. มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ทั้งจากผู้ขับขี่และผลกระทบจากดิน ฟ้า อากาศ
 3. ไม่เหมาะสำหรับการเดินทางระยะไกลๆ มีขีดจำกัดอัตราความเร็วและมีขนาดไม่ใหญ่

การส่งผู้โดยสารด้วยรถไฟ
      1.2  การขนส่งผู้โดยสารทางรถไฟ  เป็นการเคลื่อนย้ายคนคราวละจำนวนมากๆ มีความคล่องตัวน้อย เพราะต้องวิ่งบนรางรถไฟเท่านั้น  แต่จะได้เปรียบในกรณีที่สามารถบรรจุผู้โดยสารได้จำนวนมากกว่า และสามารถเพิ่มการบริการโดยการเพิ่มตู้รถได้
ประเภทขบวนรถไฟ
    รถไฟที่นักท่องเที่ยวนิยมใช้บริการในปัจจุบันมีหลายประเภท เช่น            
     
- ขบวนรถด่วนพิเศษ
เดินทางระยะไกล หยุดสถานีที่สำคัญๆเท่านั้น รถพ่วงส่วนใหญ่จะเป็นรถนอนธรรมดาและปรับอากาศ
      
- ขบวนรถเร็ว  
เดินระยะทางไกลหยุดเกือบทุกสถานี รถพ่วงจะเป็นรถนั่ง ชั้น 3
      
- ขบวนรถท่องเที่ยว  
ให้บริการช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดราชการ หยุดเฉพาะสถานีที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวเท่านั้น


ข้อดีและข้อจำกัดของการขนส่งทางรถไฟ
ข้อดี
 1. ขนส่งผู้โดยสารได้จำนวนมากในแต่ละเที่ยว                                             
 2. มีความปลอดภัยสูง โอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุมีน้อย
 3. เหมาะสำหรับการขนส่งในระยะทางปานกลางและไกล
 4. อัตราค่าโดยสารไม่สูงมากนัก
ข้อจำกัด   1. มีความคล่องตัวน้อยกว่าประเภทอื่น และเป็นไปตามตารางเดินรถเท่านั้
 2. ไม่สามารถบริการได้ถึงที่ ต้องอาศัยการขนส่งประเภทอื่นเข้ามาช่วยบริการ
 3. ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ผูกขาด (การรถไฟแห่งประเทศไทย)ไม่สามารถเลือกได้
 4. ใช้เวลาการเดินทางค่อนข้างมาก 


การขนส่งผู้โดยสารด้วยเรือ
การขนส่งผู้โดยสารด้วยเรือ หมายถึงการเคลื่อนย้ายบุคคลด้วยเรือไปตามลำน้ำ  แม่น้ำ  ทะเลและมหาสมุทร

ข้อได้เปรียบของการขนส่งผู้โดยสารทางเรือ
1. ต้นทุนการดำเนินงานต่ำ (รัฐบาลสนับสนุน และใช้เส้นทางน้ำฟรี)
2. ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง
3. ค่าขนส่งถูก
4. ขนส่งได้ครั้งละมากๆ
ข้อเสียเปรียบ
1. การขนส่งล่าช้า
2. การบริการมีลักษณะเป็นฤดูกาล (Seasonal)
3. การบริการถูกกีดขวางด้วยธรรมชาติ (น้ำท่วม-น้ำแห้ง)
4. ต้องอาศัยการขนส่งทางอื่นก่อน
เรือโดยสาร มี 4 ประเภทคือ...
1. เรือกลไฟ (ความเร็วต่ำ มีสิ่งอำนวยความสะดวกเท่าที่จำเป็น) มีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่

2. เรือสำราญ (พัฒนาจากเรือกลไฟหรือสร้างใหม่ สะดวกเหมือนโรงแรมชั้น1) เรือQE2 (สร้าง ค.. 1969, มีระวางขับน้ำ 39,000 ตัน รับได้ 1,900 คน+ลูกเรือ1,015 คน มีห้อง1,800ห้อง โรงหนัง 4 โรง...), เรือ Crown Prince (USA) (2533)ระวางขับน้ำ 70,000 ตัน, ราคา 5,000 ล้านบาท รับได้ 1,590 คน, มี 795 ห้อง
3. เรือFerry(ความเร็วพอสมควร มีหลายอย่างคล้ายเรือสำราญ)
3. เรือความเร็วสูง แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
-Hydrofoil (Flying Ship) ความเร็วประมาณ 35 Knots/Hr.
-Hovercraft ความเร็วประมาณ 70 Knots/Hr.

การขนส่งผู้โดยสารด้วยเครื่องบิน
เหมาะสมในการขนส่งระหว่างประเทศ เพราะเหตุใด
·       ความเร็วสูง
·       ถึงจุดหมายปลายทางด้วยระยะเวลาอันสั้น
·       บินข้ามน้ำข้ามทะเลได้
·       ประหยัดเวลาการเดินทาง


เส้นทางบิน มี 2 ประเภท คือ:
เส้นทางบินในประเทศ (Domestic Route) ครอบคลุมถึง สายเหนือ สายใต้ สายอีสาน
        เส้นทางบินระหว่างประเทศ(International Route)
                        เส้นทางบินระหว่างประเทศ  5 เส้นทาง ได้แก่
                                        1. เส้นทางบินแอตแลนติคเหนือ
                                        2. เส้นทางบินตะวันออกไกล
                                        3. เส้นทางบินแอฟริกา
                                        4. เส้นทางบินแปซิฟิกใต้
                                        5. เส้นทางบินภายในทวีปยุโรป
สรุปว่า   การขนส่งผู้โดยสารทางเครื่องบิน เป็นการเคลื่อนย้ายผู้โดยสารด้วยเครื่องบิน ซึ่งได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะมีความเร็วสูง เพิ่มความถี่ง่าย และสามารถให้บริการในถิ่นทุรกันดารได้ แม้ว่าจะมีข้อเสียเปรียบคือ การลงทุนสูง เทคโนโลยี่มีความสลับซับซ้อน และขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศ

ส่วนการให้บริการแยกออกได้ 2 ประเภทคือ ระหว่างเมือง และระหว่างประเทศ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น