วันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Marco Polo
                 มาร์โคโปโล (Marco Polo) ในประเทศจีน มาร์โคโปโลเป็นลูกพ่อค้าชาวเมืองเวนิส และได้ออกเดินทางทางบกไปถึงประเทศจีนกับบิดา และลุงของเขา เมื่อ ค.ศ. 1271 ซึ่งเป็นการเดินทางผจญภัยครั้งยิ่งใหญ่ ในประวัติการค้นคว้าสำรวจครั้งหนึ่ง ในสมัยนั้นบิดาและลุงของมาร์โคโปโลได้เข้าไปอยู่ในประเทศจีนในฐานะพ่อค้า เมื่อกลับมาถึงเวนิสและจะออกเดินทางไปอีกได้นำเอามาร์โคโปโลลูกชายอายุ 17 ปีไปด้วย พร้อมกับหนังสือของพระสังฆราชไปยังพระเจ้ากุบไลข่าน จักรพรรดิแห่งประเทศจีน ตลอดระยะทาง มาร์โคโปโลได้บันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ที่เขาได้พบเห็นไว้หมดสิ้น เช่น เรื่องราวเกี่ยวกับนครแบกแดด ศูนย์การค้าของพวกอาหรับ การเดินทางข้ามเทือกเขาฮินดูกูส และทะเลทรายเป็นต้น การเดินทางครั้งนั้นกินเวลา 3 ปี จึงไปถึงราชสำนักของพระเจ้ากุบไลข่าน ในประเทศจีน มาร์โคโปโลได้พบว่าเป็นดินแดนที่เต็มไปด้วยความมหัศจรรย์ เขาได้เห็นชาวเมืองใช้กระดาษแทนเงินตรา ใช้ถ่านหินก่อไฟผิง หุงต้มและใช้ในกิจการอื่น ๆ ตลอดจนได้พบเห็นการแกะตัวพิมพ์ด้วยไม้ และการพิมพ์ตัวหนังสือลงบนกระดาษ ฯลฯ อันเป็นความรู้ใหม่ของชาวยุโรป เช่น มาร์โคโปโล สมัยนั้น เมื่อไปอยู่ในราชสำนักนาน ๆ ไม่ช้า มาร์โคโปโลก็เป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าข่าน เขาได้ถูกส่งให้ไปดูแลบ้านเมืองต่าง ๆ ของประเทศจีน และออกไปยังดินแดนของพม่า ธิเบต ขึ้นไปทางเหนือถึงดินแดนไซบีเรีย ได้เห็นสุนัขลากเลื่อน หมีขาว และชาวพื้นเมืองซึ่งนั่งบนเลื่อนน้ำแข็ง มีกวางเรนเดียร์ลากไปมา การเดินทางท่องเที่ยวของมาร์โคโปโลไปยังที่ต่าง ๆ โดยอาศัยความคุ้มครองของจักรพรรดิข่าน ทำให้เขาได้ทราบเรื่องราวของอาเซียตะวันออก ได้ดียิ่งกว่าชาวพื้นเมืองเสียอีก ทางประวัติศาสตร์จึงยกย่องว่า มาร์โคโปโลเป็นนักสำรวจค้นคว้าคนสำคัญคนหนึ่ง


                มาร์โค โปโล นักเดินทางในสมัยกลางชาวอิตาเลี่ยน ถือว่าเป็นชาวยุโรปคนแรก ที่เดินทางข้ามทวีปเอเชีย และได้เขียนบันทึกการเดินทางเกี่ยวกับสิ่งที่เขาได้ยินได้ฟังเอาไว้. หนังสือบันทึกการเดินทางของเขาได้รับการรู้จักกันในภาษาอังกฤษว่า The Travels of Marco Polo, ในหนังสือเล่มดังกล่าว เขาได้อธิบายถึงทวีปๆหนึ่ง ซึ่งไม่เป็นที่รู้จักกันเลยสำหรับชาวยุโรปในยุคสมัยของเขา. เขาได้พรรณาถึงอารยธรรมเกี่ยวกับจีน ซึ่งเจริญเหนือกว่าวัฒนธรรม และเทคโนโลยีของชาวยุโรป. แต่เนื่องจากว่าบางส่วน มีนัยะที่เป็นไปในเชิงยกยอปอปั้น, หนังสือเล่มนี้จึงไม่ได้รับการพิจารณาในสาระสำคัญ เพราะถือว่าเป็นเรื่องที่เสกสรรค์ขึ้นมา และเป็นเรื่องเกินความจริงไป. จนกระทั่งคริสตศตวรรษที่ 19 นักวิชาการและบรรดานักสำรวจทั้งหลาย จึงยืนยันถึงความถูกต้องเที่ยงตรงโดยทั่วๆไป เกี่ยวกับการสังเกตุการณ์ของมาร์โคโปโล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น